โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
9 มิ.ย.
2020-06-09 10:53:04
1870
krcfujis_01
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
รู้หรือไม่ปัจจุบันมีผู้สูงอายุในไทยป่วยเป็น โรคซึมเศร้า ถึงร้อยละ6และ1ใน3มี ภาวะซึมเศร้า
“เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวจริง ๆ นะคะ เพราะหลาย ๆ ครอบครัวจะมีผู้สูงอายุไม่ว่าเป็น คุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย ฯลฯ อยู่ที่บ้านอยู่แล้ว เดี๋ยววันนี้แอดมินจะขอเล่าเคสตัวอย่างผู้ป่วยซึมเศร้ารายหนึ่งให้ฟัง... เคสนี้เป็นคุณตาแถวบ้านของแอดมินเอง แกเป็นคนหน้าตาดุ พูดน้อย แต่คุยกับคนอื่นได้ปกติค่ะไม่ได้เก็บตัวอะไร ฐานะที่บ้านดีเลยลูกหลานก็มีความเป็นอยู่ที่ดีรักใคร่กันหมด คุณตาเปิดร้านขายของชำเล็ก ๆ ขายของกับคุณยายภรรยาของเขา ซึ่งความจริงอยู่เฉย ๆ ก็ไม่ได้ขัดสนอะไรเลย เวลาแอดมินไปซื้อของคุณตาก็พูดเพราะยิ้มให้ตลอด ถามสารทุกข์สุขดิบเป็นประจำ แต่พอกลับลูกหลายของตัวเองแกจะดุมากค่ะ เอาเป็นว่าคุณตามีความเป็นอยู่ที่ดีมาก ๆ ลูกหลานก็ดูแลดี แต่อยู่มาวันหนึ่งก็ได้ยินข่าวว่าแกผูกคอเสียชีวิตแล้ว เป็นเรื่องที่น่าเศร้าแล้วก็ใจหายมาก ๆ เพราะขนาดคนที่มีพร้อมทุกอย่างสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ก็ดียังป่วยเป็นโรคนี้ได้ ดังนั้นเราจะมองข้ามเรื่องนี้ไปไม่ได้เลย”
.
.
1.เศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้
2.มีอาการทั้งวันติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุแตกต่างกับโรคซึมเศร้าในบุคลลทั่วไป
ผู้สูงอายุเมื่อมีอาการจะไม่มีการมาบอกว่าตัวเองกำลังรู้สึกเศร้า แต่จะบอกเพียงว่ารู้สึกเบื่อหน่าย ซึ่งคำ ๆ นี้ พอคนฟังได้ฟังก็มักจะไม่ได้เอะใจอะไรเพราะเป็นคำพูดปกติไม่ได้บ่งบอกอาการของโรค และผู้สูงวัยจะเริ่มไม่อยากทำอะไร ไม่สนุกกับกิจกรรมที่ทำ เริ่มปวดเหมื่อย อ่อนเพลียตามร่างกาย ไม่อยากอาหาร มีอาการลำไส้ทำงานไม่เต็มที่ บางคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเริ่มคุมน้ำตาลในร่างกายได้ไม่ดีเท่าเมื่อก่อน เป็นต้น
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมาจากสาเหตุนี้หรือเปล่า?
1)ปัจจัยทางชีวภาพ
1.1)เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน
1.2)คนในครอบครัวมีโรคทางอารมณ์ ได้แก่ โรคแพนิค โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคไบโพลาร์ และโรคสมองเสื่อม
1.3)โรคทางกาย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง โรคสมองเสื่อม โรคไทรอยด์ และโรคพาร์กินสัน
1.4)ขาดสารอาหาร โดยเฉพาะ วิตามิน B12 และ โฟเลต
1.5)ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่
.
.
2.1)สูญเสียหน้าที่การงาน จากที่เคยทำงานแต่ต้องอยู่บ้านเฉย ๆ
2.2)สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
2.3)บุคลิกที่มีลักษณะแปลกแยก ไม่ชอบเข้าสังคม
ดังนั้นหากผู้สูงอายุหรือคนในบ้านสงสัยว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวญนะคะ เพื่อเป็นการป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที
.
.
อ้างอิงจาก:ช่องThaiPBS